Site Overlay

ทำไมวัยรุ่นใจร้อน

Previous Next คึกคะนอง, ชอบเสี่ยง, เข้าใจยาก เป็นคำที่มักใช้อธิบายพฤติกรรมของวัยรุ่น แต่ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? นักวิทยาศาสตร์ทางสมองพบคำตอบนี้ หลังการแพทย์พัฒนาจนเข้าใจการทำงานของสมองมากขึ้นจึงพบว่าพฤติกรรมที่เห็นนั้น เป็นผลมาจากการที่ สมอง 2 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนอารมณ์ และ ส่วนคิดวิเคราะห์ นั้นพัฒนาไม่เท่ากัน ในขณะที่สมองส่วนที่เกี่ยวกับอารมณ์ พฤติกรรม การตอบสนองต่อการได้รับรางวัลและการถูกลงโทษ พัฒนาอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดในวัย 10-12 ปี แต่สมองส่วนหน้าที่ทำหน้าที่คิดวิเคราะห์ วางแผน และยับยั้งชั่งใจนั้นยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา และกว่าจะสมบูรณ์ก็จนเข้าสู่วัย 20 นั่นทำให้สมองของวัยรุ่นทำงานผ่านส่วนอารมณ์ความรู้สึกมากกว่า ไม่ว่าจะรัก เกลียด คลั่งไคล้ เคียดแค้น แต่การคิดวิเคราะห์ยับยั้งชั่งใจกลับทำได้ไม่เต็มที่เท่าที่มันควรจะเป็นContinue readingทำไมวัยรุ่นใจร้อน

วินัยเชิงบวก ตอนที่1

Previous Next อยากให้ลูก…. – เป็นคนดี – มีน้ำใจ – รู้จักวางแผน – อดทน อดกลั้น – ตัดสินใจอย่างชาญฉลาด – เข้ากับคนอื่น ๆ ได้ และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่เป็นหมุดหมายในการเลี้ยงดูลูก เราเรียกเป้าหมายนี้ว่าเป้าหมายระยะยาว พ่อแม่ทุกคนที่เข้มงวด ปากเปียกปากแฉะกับลูก ๆ ทุกวันนี้ก็เพื่อสิ่งนี้นี่แหละ แต่รู้ไหมว่า พอเอาเข้าจริง ๆ ผู้ใหญ่อย่างเรา ๆ กลับติดกับดักเป้าหมายระยะสั้น เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ทำให้หลงลืมสิ่งที่สำคัญกว่าที่เราเองเป็นคนปักหมุดหมายเอาไว้Continue readingวินัยเชิงบวก ตอนที่1

สีชมพู – ฟ้า มาได้ไง?

Previous Next สีชมพู – ฟ้า มาได้ไง? และส่งผลอย่างไรกับเด็ก? เคยสงสัยกันไหมคะว่า – ทำไมเด็กผู้ชายต้องใช้ของสีฟ้า และเด็กผู้หญิงต้องเป็นสีชมพู – ใครเป็นคนกำหนดวัฒนธรรม ฟ้า-ชมพู นี้ – แล้วมันจะส่งผลต่อเด็กอย่างไร แอดมินเจอเด็กผู้หญิงที่หลงใหลคลั่งไคล้สีชมพูบ่อยมาก ยิ่งนานวันความคลั่งไคล้นี้ก็มากขึ้นๆ จากที่เห็นแค่แต่งชุดสีชมพู ก็กลายเป็นของทุกชิ้นจะต้องมีสีชมพูประกอบอยู่ เรียกว่าทุกอณูช่างหวานแหววแต๋วกระจายกันไป ส่วนผู้ชายก็ไม่แพ้กัน แค่เปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีฟ้า ความบ้าคลั่งยังเหมือนเดิม หลังเกิดคำถามในใจแอดมินก็ไม่รอช้า รีบค้นคว้าหาคำตอบทันที ได้ความมาดังนี้ค่ะ จากการศึกษาภาพถ่ายสมัยโบราณเมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้ว พบว่า ในสมัยก่อนเด็ก ๆ จะนุ่งชุดเดรสสีขาวล้วนContinue readingสีชมพู – ฟ้า มาได้ไง?

ความจริงของการเสพติด

Previous Next เคยไหมคะที่คิดว่าขอลองเล่นแค่หนึ่งเกม ไป ๆ มา ๆ ก็ติดกับเข้าอย่างจัง รู้ตัวอีกทีก็ปาเข้าไป 3-4 ชั่วโมงแล้ว จริง ๆ แล้วเหตุการณ์แบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่แปปลกอะไรเลยค่ะ เพราะเกมต่าง ๆ เหล่านั้น ถูกออกแบบมาเพื่อให้เราเสพติด!! ใช่แล้วค่ะ เสพติดเหมือนกับที่เราติดเหล้า ติดยา ติดการพนันนี่แหละ การที่นักออกแบบทำอย่างนั้นได้ ก็เพราะเขาเข้าใจการทำงานของสมองและจิตใจ แล้วเอามันมาใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ เกมถูกออกแบบมาให้คุณเสพติดตั้งแต่วันแรกที่เล่น สังเกตุไหมคะ เวลาคุณเริ่มเล่นเกมอะไรสักเกม เกมแรกที่คุณเล่น มันจะง๊ายง่าย คุณจะเอาชนะมันได้ภายใน 5-10 นาที และนี่ก็เป็นกับดักแรกที่นักออกแบบล่อให้เหยื่อเข้ามาติดกับContinue readingความจริงของการเสพติด

มนุษย์ปลาทอง

Previous Next มีใครเป็นมนุษย์ปลาทองกันบ้างคะ ลืมโน่นลืมนี่ตลอดเว วิถีชีวิตปัจจุบันทำให้สมองเรามีปัญหา แต่ยังพอมีวิธีแก้ไข รู้ก่อน แก้ก่อน หายก่อน คร่าาาา ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมนะคะ เพราะมีคนถามเข้ามาหลายคน ข้อมูลที่นำมาเขียนเอามาจากประสบการณ์ตรงค่ะ เป็นข้อมูลจากการปรึกษาคุณหมอ 2 ท่าน ที่ถือเป็นยอดฝีมือด้านสมองและพัฒนาการ คือ นพ สุรัตน์ ตันประเวช ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบประสาทและสมอง และ ผู้เชี่ยวชาญโรคปวดศีรษะ ตอนนี้นอกจากคุณหมอจะออกตรวจแล้ว ยังเป็นอาจารย์แพทย์ ที่คณะแพทยศาสตร์และศูนย์โรคสมองภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ นพ.ณัฐวัฒน์ งามสมุทร จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น คุณหมออกตรวจที่ รพ. สมิติเวชContinue readingมนุษย์ปลาทอง

สอนตรรกะอย่างไรให้ไม่หยุดความคิดสร้างสรรค์ (ตอนที่ 2: หลักการ)

Previous Next หลักพื้นฐานของการสอนเรื่องของตรรกะให้กับเด็ก ๆ ก็ไม่ต่างจากการสอนหัวข้ออื่น ๆ ที่ว่า คนสอนต้องรู้จักสิ่งที่ตนเองต้องการจะสอนเสียก่อน และนอกจากจะสอนแล้วยังต้องปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างอีกด้วย เพราะเด็กจะซึมซับสิ่งที่เราปฏิบัติมากกว่าสิ่งที่เราพูด การตั้งคำถามและหาคำตอบก็เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ๆ แนวคิดและสิ่งประดิษฐ์ที่เปลี่ยนโลกของเรามากมาย ก็เกิดจากการตั้งคำถาม และพยายามหาคำตอบนี่แหละค่ะ และการตั้งคำถามที่น่าสนใจ ก็จะนำเราไปสู่คำตอบหรือแนวคิดที่อาจถึงขั้นเปลี่ยนโลกได้เลย แต่การตั้งคำถามก็ถือว่าเป็นทักษะหนึ่งที่ต้องฝึกฝน ส่วนใหญ่เด็ก ๆ จะมีวิญญาณนักถามอยู่ในตัวอยู่แล้ว เพียงแค่เราหมั่นลับคมความคิดให้เขา และเปิดประตูแห่งการหาคำตอบ รับรองค่ะ เจ้าตัวน้อยจะเติบโตมาเป็นทั้งคนช่างคิด ทั้งคิดแบบมีเหตุมีผล และสร้างสรรค์ไปพร้อมกันแน่ ๆ ค่ะ

สอนตรรกะอย่างไรให้ไม่หยุดความคิดสร้างสรรค์ (ตอนที่ 1: ไอสไตน์สอนตรรกะ)

Previous Next ตรรกะ หรือที่เรามักแปลกันให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า “ความคิดเป็นเหตุเป็นผล” นั้น เป็นพื้นฐานสำคัญในการใช้ชีวิตและการเรียน โดยเฉพาะในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เด็กที่มีตรรกะสูง มักจะเรียนได้คะแนนดี เพราะคำว่า ตรรกะ หรือความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลที่ว่านี้ จะต้องนำไปสู่ความเป็นจริงด้วย ซึ่งข้อสอบส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นไปที่การหาคำตอบที่ถูกต้อง สอดคล้องกับสิ่งที่ครูสอน หรือเนื้อหาที่ถูกจัดเอาไว้ให้แล้ว ทำให้หลาย ๆ คนถูกตรรกะจำกัดความคิด และสุดท้ายโตมาแบบขาดจินตนาการ แต่จะทำอย่างไรให้สามารถสอนทั้งตรรกะและไม่ไปหยุดยั้งจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก ๆ แอดมินมีวิธีค่ะ แต่ก่อนที่จะมาเฉลยเคล็ดลับ มาอ่านเรื่องเล่าสนุก ๆ เกี่ยวกับตรรกะและไอสไตน์กันก่อนนะคะ เรื่องนี้แอดมินได้อ่านมาจาก เว็บไซท์ dek-d.com ต้องขอบคุณมาก ๆ เลยค่ะ

พี่น้องทะเลาะกันทำยังไง

Previous Next สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินขอนำบทความหนึ่งของ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสาขาพัฒนาการมนุษย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาการเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล มาทำเป็นภาพให้อ่านกันง่าย ๆ นะคะ เรื่องพี่น้องทะเลาะกันนั้นเป็นปัญหาที่ทุกบ้านต้องเคยเผชิญแน่นอน มาเรียนรู้กันนะคะว่าเราจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไรดี อาจารย์ว่าไว้อย่างนี้ค่ะ คงไม่มีเรื่องใดสำหรับพ่อแม่ที่จะเป็นทุกข์หรือเศร้าใจมากไปกว่าการที่เห็นลูกๆ สุดที่รักทะเลาะ หรือขัดแย้งกัน แต่ปัญหานี้ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกครอบครัว และสามารถคลี่คลายให้เกิดผลดีต่อตัวเด็ก และพ่อแม่ได้ หากมีวิธีจัดการอย่างเหมาะสม แต่การแก้ปัญหาของพ่อแม่หลายๆ ท่าน เป็นสิ่งที่ ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์ประจำสาขาพัฒนาการมนุษย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาการเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัย มองว่า ยังไม่เหมาะสมเท่าที่ควร โดยส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีเปรียบเทียบContinue readingพี่น้องทะเลาะกันทำยังไง

เลี้ยงลูกให้รอดในศตวรรษที่ 21 ตอนที่ 3: ชวนลูกอ่าน ทำยังไง?

Previous Next คราวก่อนเราคุยเรื่องการอ่านจากจอและหนังสือให้ผลต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะมาคุยเรื่องเราจะชวนเด็ก ๆ มาอ่านหนังสืออย่างไรดี สำหรับเด็ก ๆ ที่เริ่มฝึกอ่านในช่วงแรก ๆ แอดมินแนะนำว่า 1. อย่าเพิ่งเอาคอมฯ มาให้อ่านแทนหนังสือ 2. จำกัดเวลาหน้าจอ สองข้อนี้สำคัญมาก เพราะการเริ่มต้นที่ดีทำให้เขามีพื้นฐานที่ดีค่ะ ทีนี้เรามาดูกันว่า แล้วเราจะชวนลูกอ่านหนังสือ รักหนังสือได้อย่างไร เริ่มที่การเลือกหนังสือที่จะให้เขาอ่านเลยค่ะ ถ้าให้เขามีส่วนในการเลือกหนังสือ หรือเลือกเนื้อหาที่เขาอยากอ่าน จะเป็นการสร้างแรงจูงใจ ทำให้เกิดความสนใจมากขึ้น และเขาจะสามารถอยู่กับหนังสือเล่มนั้นได้นานขึ้นด้วย ที่จริงแล้ว สมองของมนุษย์ ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้อ่านหนังสือ แต่ในวิวัฒนาการอันยาวนาน มันถูกออกแบบมาให้มองและแปลภาพวัตถุ แต่ตัวหนังสือคือสัญลักษณ์ ไม่ต่างอะไรกับตัวเลข หรือตัวโน้ตดนตรีContinue readingเลี้ยงลูกให้รอดในศตวรรษที่ 21 ตอนที่ 3: ชวนลูกอ่าน ทำยังไง?

เลี้ยงลูกให้รอดในศตวรรษที่ 21 ตอนที่ 2: อ่านจากไหนดี

Previous Next เมื่อคราวที่แล้วเราคุยกันว่าเด็ก ๆ ในศตวรรษที่ 21 นั้นจะต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองให้เป็น จึงจะสามารถเอาตัวรอดจากความไม่แน่นอนอันเกิดจากเทคโนโลยีและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วได้ และ “การอ่าน” ให้เป็นก็เป็นทักษะที่มีความสำคัญมากในการรับข้อมูลและเรียนรู้ ปัจจุบันเราเปลี่ยนจากการอ่านหนังสือ มารับข้อมูลผ่านคอมและมือถือเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่เรารู้ไหมว่าการอ่านผ่านหนังสือและคอมนั้น ทั้ง 2 ช่องทางมีผลต่อสมองอย่างไร วันนี้แอดมินจึงได้นำบทความของ นพ. สุรัตน์ ตันประเวช ผู้เชี่ยวชาญระบบประสาทและสมอง มาแปลงเป็นภาพให้อ่านกันง่าย ๆ พร้อมบทความเต็ม ๖ด้านล่าง) ส่วนใครสนใจเรื่องสมองก็ติดตามได้ที่เว็บไซท์ของคุณหมอ https://www.surattanprawate.com/blog/2017/1/14/-screen-tablet-vs- นะคะ อ่านจาก screen บน tablet vs อ่านจากหนังสือจริง : ความแตกต่างของการทำงานของสมองContinue readingเลี้ยงลูกให้รอดในศตวรรษที่ 21 ตอนที่ 2: อ่านจากไหนดี