Club Creative / Play Activist
incorporating fun elements into serious issues
รวบรวมเคล็ดลับดีๆ จากเพจ “เล่นจนได้เรื่อง” มาให้อ่านสนุกพร้อมได้สาระ เพราะว่าไหนๆ เล่นทั้งทีก็ขอให้ได้เรื่องดีๆกลับมา
กลัวลูกเป็นกระเทย เลยห้ามเล่น
Previous Next อาทิตย์ที่ผ่านมานี้ มีข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งในวงการของเล่น เมื่อบริษัทเลโก้ออกมาประกาศว่า จะตัดของเล่นที่มี gender stereotype หรือของเล่นที่สร้างภาพจำเพศหญิง-ชายออก พร้อมเปิดเผยผลวิจัยสนับสนุนการตัดสินใจนี้ สถาบันจีนาเดวีส์ ทำการสำรวจผู้ปกครองและเด็ก 7,000 คนในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ และรัสเซีย และพบข้อมูลหลายอย่างที่น่าสนใจ เช่น เรื่องอิสระในการเล่น – พบว่าเด็กผู้หญิงมีความมั่นใจและอินกับการเล่นที่หลากหลายบทบาทมากกว่า ในขณะที่เด็กผู้ชายถึง 71% กลัวการถูกล้อเลียนหากเล่นของเล่นที่สังคมตีตราว่าเป็นของเด็กหญิง – พ่อแม่ของเด็กผู้ชายมักผลักดันให้ลูกเล่นกีฬา หรือของเล่นจำพวก STEM (เช่น ตัวต่อประกอบ) ส่วนเด็กหญิงก็จะได้เรียนเต้น
เตรียมตัวกับความท้าทายใหม่ๆ
Previous Next ไม่ว่าจะเป็น “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” “ตั้งใจเรียน แล้วเป็นเจ้าคนนายคน จะได้ไม่ต้องลำบากเหมือนพ่อแม่” หรือ “หาตัวเองให้เจอแล้วมีความสุขกับชีวิต” ทั้งหมดเป็นคำสอนที่ส่งผ่านจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่ง บนฐานของสิ่งที่ตนได้พบเห็นและประสบการณ์ที่ตนเองมี สิ่งเหล่านี้อาจจะเวิร์คในสมัยก่อน เพราะโลกยังเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่พอคาดเดาได้ แต่จะทำอย่างไรเมื่อการคาดเดาสามารถทำได้ยากขึ้น หรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย??!!? คำตอบก็คือ Resilence หรือความสามารถในการปรับตัวให้ได้ การล้มแล้วลุกให้ได้ การพร้อมที่จะทิ้งสิ่งที่มีอยู่ (ที่ใช้ไม่ได้แล้ว) และเริ่มสิ่งใหม่ แต่จะทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่มีทักษะนี้ ยังไม่มีโรงเรียนไหนสอน และถึงจะมีสอนมันก็คงจะเวิร์คยาก เพราะเรื่องนี้เป็น life style มากกว่าความรู้ มันจึงต้องใช้เวลานานในการบ่ม ต้องอาศัยการสร้างวัฒนธรรม สร้างวาทกรรมใหม่ๆ ที่ทำให้เกิด resilence
เลอะ ๆ ลดภูมิแพ้
Previous Next สังเกตไหมคะว่ารอบ ๆ ตัวเรามีคนเป็น #ภูมิแพ้ หรือหอบหืดไม่น้อย โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ ๆ ทั้ง ๆ ที่วิทยาการแพทย์ก้าวหน้า และความเป็นอยู่ดีขึ้น สะอาดสะอ้าน แต่ทำไมโรคนี้ถึงได้ผุดขึ้นมามากมายเป็นดอกเห็ด? คำถามนี้เป็นคำถามเดียวกับคุณหมอหลาย ๆ คนในตลอด 200 ปีที่ผ่านมา (อ้อ!! หมายความว่าโรคนี้เพิ่งเกิดมาไม่นานนี้เองสินะ) รายงานทางการแพทย์ฉบับแรก ๆ เกี่ยวกับโรคนี้ เพิ่งเกิดขึ้นในปี 1819 โดยหมอ จอห์น โบสต๊อก ที่บันทึกอาการของผู้ป่วยและวิธีรักษาที่ทดลองว่า ไม่ว่าจะเป็นการใช้มอร์ฟีน การแช่น้ำเย็นจัด การหลั่งเลือด (Bloodletting) ก็ไม่ได้ทำให้อาการดีขึ้น วิธีการเดียวที่ดูเหมือนจะได้ผลก็คือ