Site Overlay

รูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) ตอนที่ 2

Previous
Next

– จะสังเกตุได้อย่างไรว่าใครถนัดรูปแบบการเรียนรู้แบบไหน?
– เมื่อรู้แล้วต้องทำอย่างไรต่อ?

วันนี้เราจะมาพูดเรื่องนี้กันค่ะ แต่ก่อนอื่นเราควรที่จะเข้าใจก่อนว่า
1. ไม่มีรูปแบบการเรียนรู้ไหนที่ไหนดีไปกว่ากัน เพราะความรู้แต่ละประเภท สามารถเรียนรู้ได้ดีผ่านรูปแบบที่ต่างกัน เช่น ถ้าเราจะเรียนภูมิศาสตร์ อย่างไรก็ตามภาพแผนที่ก็เป็นสิ่งที่อธิบายได้ดีกว่าคำพูด ถ้าจะเรียนดนตรี ก็หลีกเลี่ยงการสอนผ่านการฟังไม่ได้ หรือถ้าจะเรียนทำอาหาร การลงมือทำก็สามารถทำให้เข้าใจได้ดีกว่าการอ่านคู่มือ

2. ทุกรูปแบบสามารถฝึกฝนได้ จริงๆ แล้วเราใช้ ตา หู และร่างกายอยู่ตลอดเวลา เราจึงสามารถพัฒนาการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบนี้ได้ตลอดเวลา และก็เป็นเรื่องที่จำเป็นที่เราจะต้องฝึกฝน พาตนเองและเด็ก ๆ ออกจาก comfort zone ของตนเองและเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ถนัด จะทำให้เด็กเกิดความมั่นใจ และความเคารพในตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการมีชีวิตที่มีความสุข

และเป้าหมายสูงสุดของเราคือ ความสามารถในการเลือกใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมทั้งกับตัวเองและเนื้อหาที่ต้องการเรียนรู้ให้ได้ พูดง่าย ๆ ก็คือเราต้องการเสริมจุดแข็งและอุดจุดอ่อนของเด็ก เพื่อให้เขากลายเป็น “นักเรียนในห้องเรียนของโลก” เพราะตอนนี้การเรียนไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนอีกต่อไป และเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า ทำให้ความรู้ที่เราเรียนในวันนี้อาจไม่มีประโยชน์อีกเลยก็ได้ในวันพรุ่งนี้หากเทคโนโยลีเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นเด็ก ๆ แห่งศตวรรษที่ 21 จะต้องมีความฉลาดในการเรียนรู้ เขาจะต้องเป็นนักเรียนรู้ตลอดเวลา เข้าใจว่าความรู้ใดควรเข้าถึงด้วยการเรียนรู้รูปแบบไหน

สุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือการฝึกฝน คราวหน้าเราจะนำเสนอเครื่องมือและกิจกรรมที่